ระบบสีทาเรือไม้
ขั้นตอนการเตรียมพื้นผิว
1) ขัดสีเก่าออกให้หมดด้วยกระดาษทราย เบอร์ 16 เก็บรายละเอียดด้วยกระดาษทราย เบอร์ 36 จนได้พื้นผิวงานที่เรียบเนียนของผิวไม้
2) รื้อแนวหมันเก่าออก แซะทำความสะอาดร่องไม้ เช็ดด้วยทินเนอร์เพื่อขจัดคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกออกให้หมด
3) จัดการกับร่องที่มีขนาดใหญ่โดยการตอกหมัน หรืออัดใยไนล่อน แล้วอุดทับด้วย Epoxy Filler หรือ ชันฝรั่ง หรือ กาวขุ่น ทิ้งไว้ 6 ชัวโมงเป็นอย่างน้อยเพื่อให้ epoxy แห้งตัว
4) ตกแต่งแนวยาชันฝรั่ง และปิดทับด้วยกาวใส หรือ Epoxy Glue โดยเสริมใยสาน ( Fibre ) ในแนวทีมีขนาดใหญ่ แล้วจึงเก็บงานตามแนวยากาวให้เรียบร้อย ทิ้งไว้ให้กาวแห้งตัว
ขั้นตอนการทำสี
1) ทาสีทับแนวกาวยาเรือ เพื่อไม่ให้กาวอีพ๊อกซี่ทำปฎิกริยากับสีที่จะมาทับบนกาวจนบวมและหลุดร่อนภายหลัง จึงต้องทาสีทับกาวเสียก่อน สีที่ใข้ทับกาว โดยทั่วไป มักจะใช้สี รองพื้นอีพอ๊กซี่ขนิดแห้งเร็วที่สามารถทาทับด้วยสีทุกขนิด ให้สอบถามผู้ขาย หรือที่นิยมทำกัน มักจะใข้สีประเภท Epoxy Zinc Rich เป็นสีทับกาว เพราะหาซื้อได้สะดวก แต่ราคาค่อนข้างแพง แต่ก็ใช้ได้ดี
2) ทาสีรองพื้นรักษาเนื้อไม้ ปัจจุบันนิยมใช้สี Coaltar Epoxy ซึ่งมี่ต้นทุนประหยัดและได้ผลดี การทาสี โคลทาร์ฯ ควรทา หรือพ่น 1-2 ชั้น ให้ความหนา 200 ไมครอน เป็นอย่างน้อย (การวัดความหนาของสี ท่านสามารถขอรับบริการจากพนักงานเทคนิคสี หรือที่ เกษมพงษ์รัตน์ ได้ ) การทาสี Coaltar Epoxy ควรทิ้งให้แห้ง ประมาณ 6-8 ชม. แต่ไม่ควรทิ้งไวนานเกินไป เพราะสีชนิดนี้มีฟิล์มสีที่แข็งมาก ดังนั้นหากปล่อยให้สีแห้งแข็งเต็มที่ จะส่งผลให้สีชั้นต่อไปยึดเกาะไม่ติด หรือติดได้ไม่ดีเท่าที่ควร
3) ทาสีชั้นเชื่อมยึด ประโยชน์เพื่อเพิ่มการยึดเกาะระหว่างชั้นสีรองพื้นไม้กับสีกันเพรียงมิให้เกิดการหลุดร่อนเมื่อใช้งานไปนาน และยังช่วยบล๊อกสาร Tar หรือ น้ำมันดำ ที่มีอยู่ในสี Coaltar epoxy ไม่ให้เกิดการ ลอยหน้าบนผิวสี (Bleeding) ซึ่งมีผลให้สีกันเพรียงด้อยประสิทธิภาพลงไปบ้าง สีที่นิยมใช้เป็นสี้เชื่อมยึด เช่น สีประเภท Vinyl tar. หรือ สีประเภท Epoxy Modified Primer การทำสีชั้นนี้ไม่ต้องหนามาก อยู่ระหว่าง 35-50 ไมครอน หรือทา 1 ชั้น การแห้งตัวสีชนิดนี้ จะแห้งตัวได้เร็วใช้เวลาประมาณ 5-8 ชั่วโมง ในบรรยากาศปกติ ก็สามารถทำสีชั้นต่อไปได้
4) การทาสีกันเพรียง ก่อนอื่นจะต้องพิจารณาเลือกสีกันเพรียงให้เมาะสมกับสภาพแวดล้อมการใช้งาน โดยพิจารณาคุณสมบัติเฉพาะตัวของสีกันเพรียงชนิดต่างๆ
|