หน้าแรก | ติดต่อเรา | ข่าวสาร | หน้าบทความ | ถาม-ตอบ | เกี่ยวกับเรา | ค้นหาสินค้าตามแบรนด์      
             ไทย | English    
   Product Categories
   สมาชิก
 : 
 : 
 
 สมัครสมาชิก
 ลืมรหัสผ่าน
   เว็บลิงค์


สั่งสินค้าตอนนี้
สั่งซื้อสินค้าผ่าน Shopee
สั่งซื้อสินค้าผ่าน Lazada
สั่งซื้อสินค้าผ่าน KasempongratOnline.com
อัตราค่าบริการขนส่งต่างๆ
กดไลค์เราบน Facebook เพื่อรับข่าวสารโปรโมชั่นและความรู้สีทุกวัน!

 
เทคโนโลยีของสีกันเพรียง (Technology of Antifouling paint)

เรื่อง เทคโนโลยีของสีกันเพรียง (Technology of Antifouling paint)


๑.บทนำ

ในการคมนาคมทางน้ำ ความจำเป็นที่ต้องป้องกันผิวเรือไม่ให้เกิดความสกปรก เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักเนื่องจาก มีผลต่อประสิทธิภาพการเดินเรือและสิ่งแวดล้อม ปัญหาสำคัญหากผิวเรือถูกเกาะด้วยเพรียงคือ อัตราการใช้น้ำมันที่สูงขึ้น และมีปัญหาการผุกร่อนเกิดขึ้นได้ หากมองในสภาพแวดล้อมของโลกจะส่งผลทำให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกมากขึ้นซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงที่มากขึ้น การป้องกันหรือลดการเจริญเติบโตของเพรียงที่ผิวเรือ ซึ่งรวมถึงความสกปรกที่เกิดขึ้นจากการเกาะของสิ่งมีชีวิตในทะเล (Antifouing) สามารถใช้วิธีทาหรือพ่นด้วยสีกันเพรียง เนื่องจากสีกันเพรียงมีสารฆ่าสิ่งมีชีวิต (biocide) ผสมอยู่ซึ่งสารนี้จะถูกปลดปล่อยตลอดช่วงเวลาขณะที่ผิวเรือสัมผัสกับน้ำ แม้ชั้นของสีเป็นฟิล์มบางที่เคลือบผิวเรือจะหนาเพียงในระดับไมโครเมตรเท่านั้น แต่มีความเข้มข้นมากพอที่จะป้องกันการเกาะยึดของเพรียงได้ (settlement of juvenile fouling organisms) ด้วยเหตุที่สิ่งมีชีวิต (marine organisms) ที่สามารถทำให้เกิดความสกปรกแก่ตัวเรือในทะเลมีกว่า 4,000 ชนิดทั้งพืชและสัตว์ สารฆ่าสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในฟลิ์มสีจงต้องออกฤทธิ์ที่กว้างและครอบคลุมความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น แต่เนื่องจากสีทาเรือในห้วงทศวรรษที่ผ่านมาประสบกับปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมอันจากการใช้สารประเภท Tributyltin (TBT) ด้วยเหตุนี้สีกันเพรียงในปัจจุบัน จึงจะต้องผลิตและพัฒนาด้วยความตระหนักมากยิ่งขึ้นต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในทะเล เทคโนโลยีของสีกันเพรียงจึงได้พัฒนาอย่างไม่ หยุดยั้ง เพราะเป็นสิ่งท้าทายซึ่งมีนัยสำคัญของอุตสาหกรรมสารเคลือบผิว บทความเรื่องที่เขียนและรวบรวมขึ้นนี้ จึงได้กล่าวถึง ความสกปรกของเรือที่เกิดจากเพรียง ระบบของสีกันเพรียงซึ่งได้พัฒนาขึ้น ผลกระทบจากการใช้สีกันเพรียงต่อสิ่งแวดล้อม และขีดความสามารถของกองวิเคราะห์และทดสอบ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ในการวิเคราะห์ ทดสอบ คุณลักษณะของสีทาเรือให้ทันกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์สีกันเพรียงชนิดหนึ่งคือ ประเภทขัดตัวเองได้ (Self Polishing Copolymer, SPC -antifouling paints)

รูปที่ 1-3 แสดงการยึดเกาะของเพรียงและคราบสกปรกบนชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเรือ


2.ความสกปรก (Fouling)
สิ่งมีชีวิตอย่างเช่น เพรียง (barnacles), หอยแมลงภู่ ( mussels) , ฟองน้ำ (sponges), สาหร่าย ( algae ) และ sea squirts ที่เกาะกันเองอย่างแน่นหนากับลำเรือ ทำให้เกิดคราบสกปรกขึ้น แสดงดังรูปที่ 4-9

รูปที่ 4-9 แสดงสิ่งมีชีวิตในทะเลซึ่งสามารถทำให้เกิดความสกปรกที่ผิวเรือ ( Fouling )ได้



Fouling คือ ผลของการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในทะเลบนพื้นผิวของเรือซึ่งอยู่ใต้แนวน้ำด้านนอกของผิวเรือ (Hull)ที่ก่อให้เกิดความสกปรก ความสกปรกที่เกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิต (Biological fouling) นี้ เป็นปัญหาที่พบทั่วไปของพื้นผิวของเรือที่สัมผัสกับน้ำ โดยเฉพาะเรือที่จอดประจำที่ ความสกปรกดังกล่าวไม่เพียงแต่จะส่งผลต่อปัญหาการผุกร่อน การทำลายวัสดุและสิ่งอุปกรณ์อีกด้วย

3. สีกันเพรียง (Antifouling paint)
โดยทั่วไปสามารถแบ่งประเภทของสีกันเพรียงอย่างคร่าว ๆ เป็นสองประเภทคือ ประเภทแรก เป็นระบบสีที่ทำให้ผิวลื่นและเรียบ ซึ่งสิ่งสกปรกและเพรียงต่าง ๆ ไม่สามารถเกาะได้ที่ผิวเรือ และประเภทที่สองคือระบบสีกันเพรียงที่มีส่วนผสมของสารฆ่าสิ่งมีชีวิตผสมอยู่ด้วย และการออกฤทธิ์ในห้วงเวลาสั้น ๆ และสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่หากพิจารณาถึงความแตกต่างของชนิด binder และสารฆ่าสิ่งมีชีวิตได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ใช้งานได้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดสีกันเพรียงระบบต่างกันอีกหลายระบบ ดังจะกล่าวต่อไปนี้

3.1 ระบบของสีกันเพรียง
3.1.1 Self Polishing Copolymer, SPC : เป็นระบบสีกันเพรียงที่มีประสิทธิภาพการป้องกันสูงสุด การทำงานสม่ำเสมอ ปล่อยสาร Biocide คงที่ ตลอดเวลาอายุการใช้งานมากกว่า 60 เดือน อัตราการขัดตัวเอง (Self Polishing) เป็นไปอย่างช้า ๆ ตามสภาพการใช้งาน (ความเร็วของเรือ) ผิวที่ทาเคลือบมีลักษณะเนียนตลอดเท่า ๆ กัน และไม่มีปัญหาสีพอก ประกอบด้วย เรซินสบู่ของเกลือโลหะ เตรียมได้จากการทำปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบที่มีประจุบวกอย่างน้อยบวกสองกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวหรืออาจส่วนผสมระหว่างกรดไขมันอิ่มตัวกับกรดอินทรีย์อิ่มตัว
3.1.2 Hybrid SPC/Controlled Depletion Polymer (CPD) : เป็นระบบสีที่มีการขัดตัวเองและการปล่อยสารป้องกันเพรียงสม่ำเสมอ สามารถกำหนดความหนาของชั้นสีตามสภาพใช้งานและระยะเวลา พื้นผิวทนทานต่อสภาพ แวดล้อม ปริมาตรเนื้อสีมาก ราคาประหยัด
3.1.3 Contact Leaching (CL): เป็นระบบสีกันเพรียงการขัดตัวเองเป็นไปอย่างช้า ๆ อายุการใช้งานไม่เกิน 36 เดือน ความหนาของฟิล์มสีขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน มีความทนทานสูง มีปริมาตรเนื้อสีสูง คลอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า
3.1.4 Foul Release Technology (FR): ไม่มีสารประเภทโลหะส่วนผสม ใช้โครงสร้างของซิลิคอนไม่มีการขัดตัวเอง ทนทานต่อแรงกระทบของน้ำ มีความยืดหยุ่นสูง และมีปริมาตรเนื้อสีสูง

3.2. องค์ประกอบของสีกันเพรียง
ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน ตัวอย่างองค์ประกอบ แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ส่วนประกอบของสีกันเพรียง

 

ส่วนประกอบ

 

ตัวอย่างของสีกันเพรียง

 

ปริมาณร้อยละ

 

1.Binder

 

Resin

 

25

 

2.Pigments

 

Cu2O/ZnO

 

35/5

 

3.Additives

 

Bentone#34

 

1.5

 

4.Extenders

 

Talc/ CaCO3

 

10/5

 

5.Solvents

 

Xylene

 

20

 

 



องค์ประกอบของสีแยกตามระบบ หรือตามการพัฒนา สามารถแบ่งได้คือ
3.2.1 ระบบ Conventional, Soluble matric-tpye antifouling : สีประเภทนี้ส่วนประกอบที่เป็น binder เช่น Colophonium สามารถละลายในน้ำได้ และสารฆ่าสิ่งมีชีวิต (biocide) เช่น คิวปรัสออกไซด์ (Cu2O)จะถูกปล่อยออกมา ซึ่งสีประเภทนี้อาจมีสารประกอบของดีบุกอินทรีย์ (Organotin) ปนมาด้วยก็ได้ อายุการใช้งานประมาณ 12 เดือน สีประเภทนี้ง่ายต่อการหักและแตกเป็นเกล้ด (Cracking and flaking) เมื่อทาสีบนพื้นผิวแล้วจำเป็นที่ต้องนำพื้นผิวสัมผัสน้ำโดยเร็ว สีเหล่านี้เป็นสีที่ใช้กันทั่วไปในห้วงทศวรรษที่ผ่านมาแม้ว่าจะยากต่อการควบคุมอัตราการปลดปล่อยของสารฆ่าสิ่งมีชีวิต (biocides) จากเมตริกซ์สารที่เป็น เรซินที่มีระดับของการชะล้างคงที่ (constant leaching level)
3.2.2 ระบบ Long Life, insoluble matrix-type antifouling : มีส่วนผสมของ binder เป็นสารจำพวก ไวนิล และอะคริลลิค/โรซิน (Acryllic/Rosin, CR)และอาจมี Colophonium ผสมอยู่ในปริมาณเล็กน้อย และสารฆ่าสิ่งมีชีวิต (biocide) เช่น สารประกอบของทองแดงกว่าร้อยละ 70 อาจมีสารประกอบของดีบุกอินทรีย์ อายุการใช้งานประมาณ 12-24 เดือน ซึ่งบ่อยครั้งเรียกว่า Long Life Antifouling
3.2.3 ระบบ Self Polishing antifouling: มีส่วนผสมของโคพอลิเมอร์ ได้แก่การผสมเรซินซึ่งมีสมบัติออกฤทธิ์ต่อสิ่งมีชีวิตกับสารออกฤทธิ์สำคัญอื่นๆ เป็นระบบของสารโพลิเมอร์ผสมที่มีพันธะทางเคมีตลอดทั่วทั้งเนื้อสาร ที่อาจมีหรือไม่มีส่วนผสมของสารพิษ (toxin) เช่น สารประกอบดีบุกอินทรีย์ ซึ่งดีบุกเป็นส่วนประกอบในสารพอลิเมอร์ ชนิด polyacrylates ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมและสมบัติที่สามารถขัดตัวเองได้ (self-polishing properties) การออกฤทธิ์ที่กว้างใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา แบคทีเรีย และสารฆ่าแมลงในอุตสาหกรรมทอผ้า กระดาษ หนังและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย มีการออกฤทธิ์ที่แรงและนานกว่าสีทาเรือที่ใช้สารอื่น ๆ เช่น สารประกอบของปรอทและทองแดง อย่างไรก็ตาม สารดีบุกอินทรีย์ได้ถูกจำกัดการใช้ตามกฏหมาย เพราะความเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมที่สูง สารประกอบของดีบุกที่อยู่ในรูปของสารอินทรีย์จะมีความเป็นพิษที่มากกว่ารูปสารอนินทรีย์ เนื่องจากสามารถผ่านเข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้ดีกว่า และเส้นทางเริ่มแรกของสารประกอบดีบุกอินทรีย์มักจะอยู่ในตะกอนหนักและสามารถเข้าสู่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้มากกว่าสารดีบุกอินทรีย์ที่ละลายในน้ำ สารประกอบของทองแดงซี่งมีพิษน้อยกว่าจึงเป็นสารพิษเติมแต่งในสีกันเพรียงมาจนถึงปัจจุบัน สารประกอบของทองแดงที่ใช้กันได้แก่ Copper(I) Oxide, Copper(I) thiocyanate, Copper metals powder, copper bronze (Cu+Sn alloy), copper napthenate, copper resinate (Copper hydroxide + Rosin) และ Copper (I) sulphite ซึ่งสีกันเพรียงโดยทั่วไปจะมีสารประกอบของทองแดงไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ซึ่งจะทำให้เกิดสีน้ำตาลเข้มหรือสีแดงเข้ม ระบบของสีกันเพรียงที่พัฒนามาถึงปัจจุบันอีกชนิดหนึ่งคือ การใช้ copper acrylate เป็น cross-linking agent ในพอลิเมอร์ผสม
การทาสีที่ผิวเรือด้วย สีประเภท Self Polishing antifouling นี้จะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรลิซีสกับน้ำทะเลเป็นผลทำให้มีการปลดปล่อยสารฆ่าสิ่งมีชีวิต เช่นเพรียงอย่างช้า ๆ สีที่เคลือบบนพื้นผิวเรือด้วยแรงยึดเชิงกลอย่างอ่อนที่คงเหลืออยู่จะ ค่อย ๆ หลุดลอกออกด้วยน้ำทะเล (ดังรูปที่ 10) เป็นผลทำให้มีพื้นผิวของโพลิเมอร์ที่ใหม่อยู่เสมอ ผิวเรียบมากกว่าการทาสีกันเพรียงประเภทอื่น กระบวนการเกิดไฮโดรไลซีสและการหลุดลอกจะเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกว่าไม่มีสีที่ผิวเรือที่ทา และสาร biocide ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึงประมาณ 5 ปีขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นฟิล์มสีที่ทาหรือเคลือบ แผนผังแสดงถึงการปลดปล่อยของสารฆ่าสื่งมีชีวิตของระบบสีกันเพรียงแบบ Conventional-Free association paint และ Copolymer Paint แสดงดังรูปที่ 10

รูปที่ 10 แสดงการปลดปล่อยของสารฆ่าสื่งมีชีวิตของระบบสีกันเพรียงแบบ Conventional-Free association paint และ Copolymer Paint (ภาพประกอบได้จาก Bennett, R.F. 1996. Industrial manufacture and applications of tributyltin compounds. In: Tributyltin: Case Study of an Environmental Contaminant, editor S.J. de Mora. Cambridge University Press, Cambridge, 21 - 61 pp.)

3.2.4 Ablasive antifouling : ระบบสีชนิดนี้ให้ฟิล์มที่บาง ป้องกันการผุกร่อน และกันเพรียงได้ สีกันเพรียงหากแยกตามการพัฒนาระบบของสีกันเพรียง สามารถแสดงในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 การพัฒนาระบบของสีกันเพรียง

 

Events

 

Type

 

Type of Binder

 

Type O f Biocide

 

Before 1950

 

Conventional

 

Rosin

 

Cu2O

 

1950-1960

 

Long Life A/F

 

Rosin/Vinyl, Rosin/CR

 

Cu2O

 

Late 1960

 

Long Life A/F

 

Rosin/Vinyl, Rosin/CR

 

Cu2O/TBTO

 

Mid 1970

 

Self Polishing

 

TBT-copolymer, Low built

 

Cu2O/TBTO

 

1983

 

Self Polishing

 

TBT-copolymer, High built

 

Cu2O/TBTO

 

1985

 

Self Polishing

 

TBT-copolymer Low-Tin

 

Cu2O/TBTO

 

1987

 

Ablasive

 

Copolymer

 

Cu2O/TBTO Biocide

 

1991

 

Self Polishing

 

Copolymer

 

Cu2O/Organic Biocide

 

 

4. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสีกันเพรียงชนิดมีส่วนผสมของสารดีบุกอินทรีย์

จากการตรวจพบสารประกอบอินทรีย์ดีบุกชนิด Butyltin ได้แก่ Tributyltin (TBT), dibutyltin (DBT) และ monobutyltin (MBT) ในตับของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยในทะเลแทบทุกชนิดทั่วทุกแถบทะเล เป็นสิ่งชี้ให้เห็นว่ามีการกระจายของสารประกอบดีบุกอินทรีย์ทุกมหาสมุทร แต่ตรวจพบความเข้มข้นของ TBT ในทะเลชายฝั่งของประเทศกำลังพัฒนามากกว่าแหล่งทะเลอื่น ๆ สาร TBT นี้ค่อนข้างมีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ผลจากการใช้สีกันเพรียงประเภทที่มีองค์ประกอบของ TBT-SPC ส่งผลทำให้พบปริมาณสารประกอบของดีบุกในน้ำ ตะกอนหนัก ซึ่งผลต่อการเพาะเลี้ยงหอยนางรม ( cultivated oysters ) และจำนวนประชากรของ Nucella lapillus มีลักษณะความผิดปกติทางเพศที่เรียกว่า imposex (สารประกอบอินทรีย์ของดีบุกสามารถเหนี่ยวนำให้หอยเพศเมียเป็นหอยมีลักษณะของเพศผู้มากยิ่งขึ้น) คือมีการพัฒนาการสร้างองคชาต และท่อนำสเปริ์มในหอยเพศเมีย ซึ่งจะปิดกลั้นทางเดินท่อนำไข่ ทำให้ไม่สามารถวางไข่ได้ ซึ่งส่งต่อจำนวนประชากรของหอย และนอกจากนี้หอยยังลดกิจกรรมการขยายพันธุ์ในบางกรณีอีกด้วย เพราะเหตุนี้การเดินเรือน้ำตื้น (ระวางน้ำลึกน้อยกว่า 25 เมตร) ตั้งแต่ปี ค.ศ.1989 จึงมีข้อห้ามการใช้สี TBT-SPC ในทั่วทั้งสหภาพยุโรปรวมถึงสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ในปี ค.ศ 1990 สนธิสัญญาองค์การความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศ และองค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล (IMO-MEPC) มีข้อแนะนำการใช้สีกันเพรียงประเภท TBT และมีข้อเรียกร้องเพื่อที่จะลดการปล่อยสาร TBT จากอู่เรือในอัตราสูงสุดไม่เกิน 4 มิลลิกรัมของสาร TBT ต่อตารางเซนติเมตรต่อวันสำหรับสีกันเพียงทุกประเภท สำหรับประเทศญี่ปุ่นได้ใช้ข้อกำหนดนี้เช่นกัน และมีผลตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 การศึกษาในช่วงกลางศตวรรษที่ 1990 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางเพศ (imposex)ของหอยได้ขยายไปถึงทะเลเหนือ (the North Sea) มีผลการศึกษาพบว่าสามารถตรวจพบสาร TBT ในสัตว์จำพวกนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล และปลาบางชนิดอีกด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบการหลั่งฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อ ซึ่งจากผลการศึกษาผลกระทบจากการใช้สารดีบุกอินทรีย์ในสีกันเพรียงต่อสิ่งแวดล้อม รัฐบาลและหน่วยงานสิ่งแวดล้อมในหลาย ๆ ประเทศจึงเรียกร้องให้กำหนดข้อห้ามการใช้เป็นสารกันเพรียงในทุกประเทศ ซึ่งที่ประชุม United Nations Rio Convention และ IMO-MEPC เห็นด้วยกับการเรียกร้องเหล่านี้ และที่ประชุมครั้งที่ 42 ของ IMO-MEPC (November 1998) ได้เสนอร่างเกี่ยวกับข้อห้ามการใช้สาร TBT และที่ประชุมครั้งต่อมาได้มีข้อเสนอที่จะห้ามมิให้มี TBT ในผลิตภัณฑ์สีทาเรืออย่างสมบูรณ์ก่อนปี ค.ศ.2008

5. ขีดความสามารถการวิเคราะห์ ทดสอบสีทาเรือ ของกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ

ด้วยเหตุที่กองทัพเรือ มุ่งมั่นพยายามที่จะแสวงหาสีทาเรือที่มีคุณภาพมาใช้งานและกำหนดเป็นมาตรฐานคุณลักษณะเฉพาะของสีทาเรือประเภทต่าง ๆ ซึ่งในการที่กองทัพเรือจะได้ให้การรับรองคุณภาพสีทาเรือเพื่อนำมาใช้ในราชการได้นั้น บริษัทสีต้องจัดส่งตัวอย่างเพื่อขอรับการรับรองคุณภาพ ซึ่งจะมีสิทธิในการเสนอราคาตามกรรมวิธีการจัดหาของ กรมพลาธิการทหารเรือ และดำเนินการวิเคราะห์ ทดสอบ ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนามของ กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ ต่อไป ทั้งนี้กองวิเคราะห์และทดสอบ (กวทส.วศ.ทร.) ซึ่งมีภารกิจการดำเนินการวิเคราะห์ ทดสอบ วัสดุสายวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึง สีทาเรือจะเป็นหน่วยงานทดสอบตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ข้างต้น หรือดำเนินการวิเคราะห์ทดลองเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานสีทาเรือ สำหรับวิเคราะห์และทดสอบสีใต้แนวน้ำ และสีแนวน้ำชนิดกันเพรียงชนิด Self Polishing Copolymer (SPC) ซึ่งกองทัพเรือได้นำระบบสีมาใช้ แทนระบบสีไวนิล (Vinyl) เพราะความสามารถในการกันเพรียงของตัวเรือ ทำให้เรือมีความเสียดทานน้ำน้อยลง ลดความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง สะดวกในการซ่อมทำเพราะไม่ต้องขัดฟิล์มสีเดิมออกหมด และมีอายุการใช้งานนานขึ้น ทำให้กองทัพเรือประหยัดงบประมาณในการซ่อมทำสี ขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการของกองวิเคราะห์และทดสอบ ในการวิเคราะห์ ทดสอบสีทาเรือชนิดกันเพรียง แสดงดังตารางที่ 3
การวิเคราะห์และทดสอบ แสดงตามตารางข้างต้น ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ได้นำวิธีการวิเคราะห์มาตรฐานที่เกี่ยวข้องมาใช้ (เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, มอก.; American standard for Testing of Materials, ASTM; Federal Test Method Standard, International Standard, Military Specification, MIL-STD ประกอบกับเครื่องมืออันทันสมัย ความสามารถ ความชำนาญ และทักษะของผู้ปฏิบัติวิเคราะห์ ในการวิเคราะห์ ทดสอบ ควบคุมคุณภาพ เพื่อให้ผลวิเคราะห์ ทดสอบมีความถูกต้อง แม่นยำ เป็นที่น่าเชื่อถือ และสามารถรับรองคุณภาพของสีทาเรือชนิดกันเพรียง (รวมถึงสีทาเรือประเภท อื่น ๆ) ไว้ใช้ในราชการกองทัพเรือ


รูปที่ 11 แสดงเครื่องมือวิเคราะห์สี

ตารางที่  3  รายการวิเคราะห์และทดสอบ

 

1.คุณลักษณะทางปริมาณของสี

 

1.1  ปริมาตรบรรจุ

 

 

1.2  ผงสี

 

1.3 สารที่ไม่ระเหย

 

1.4  สิ่งนำสีส่วนที่ไม่ระเหย

 

1.5  น้ำหนักต่อแกลลอน

 

1.6 จุดวาบไฟ

 

1.7  ความหนืด

 

1.8  ความละเอียด

 

1.9  ระยะเวลาเมื่อแห้ง (แห้งที่ผิว และแห้งแข็ง)

 

1.10 ความเงาวัดที่มุม ๖๐ องศา

 

1.11 กำลังซ่อนแสง

 

2.คุณลักษณะทางคุณภาพของสี

 

2.1  ภาวะในภาชนะบรรจุ

 

 

2.2  การยึดเกาะ ทาครบระบบ

 

2.3  ความทนต่อการดัดโค้ง

 

2.4 ความทนน้ำ

 

2.5 ความทนน้ำมัน

 

2.6 ความทนกรด/ด่าง ๑๒๐ ชั่วโมง

 

2.7 การเกิดฝาสี

 

2.8 ความทนละอองน้ำเกลือพ่นต่อเนื่อง ๑๒๐ ชั่วโมง

 

3.คุณลักษณะทางปริมาณของสี

 

3.1 เฟอร์ริกออกไซด์ (Fe2O3)

 


ศูนย์รวม สีโจตัน ศูนย์รวม สีชูโกกุ ศูนย์รวม สีทีโอเอ ศูนย์รวม สีตราพัด   You are visitor no. 13,434,208  จำนวนผู้เข้าชม : 8
E-commerce Solutions by BangkokDomain.com   ®